กลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Classroom Instruction That works)
วิธีสอน
ในการจัดการเรียนการสอน
ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้หลากหลายวิธีและสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับผู้เรียน
กับแต่ละสถานการณ์ และแต่ละสิ่งแวดล้อม การสอนแบบบรรยายอย่างเดียวไม่เพียงพอ
ครูผู้สอนต้องใช้วิธีสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลายเข้ามาใช้บูรณาการในการจัดการเรียนการสอน
ซึ่งวิธีการสอนต่างๆ มีตัวอย่างดังนี้
1. วิธีสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)
ความหมาย
วิธีสอนแบบสาธิต หมายถึง การที่ครูหรือนักเรียนคนใดคนหนึ่ง แสดงบางสิ่งบางอย่างให้นักเรียนดู หรือให้เพื่อนๆดู อาจเป็นการแสดงการใช้เครื่องมือแสดงให้เห็นกระบวนการวิธีการ
กลวิธีหรือการทดลองที่มีอันตราย ซึ่งไม่เหมาะที่จะให้นักเรียนทำการทดลอง
การสอนวิธีนี้ช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถทำในสิ่งนั้นได้ถูกต้อง
และยังเป็นการสอนให้นักเรียนได้ใช้ทักษะในการสังเกต และถือว่าเป็นการได้ประสบการณ์ตรงวิธีหนึ่ง
วิธีสอนแบบสาธิต จึงเป็นการสอนที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เพราะผู้สอนเป็นผู้วางแผน
ดำเนินการ และลงมือปฏิบัติ ผู้เรียนอาจมีส่วนร่วมบ้างเล็กน้อย
วิธีสอนแบบนี้จึงเหมาะสำหรับ
จุดประสงค์การสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนการปฏิบัติ เช่น วิชาพลศึกษา
ศิลปศึกษา อุตสาหกรรมศิลป์ วิชาในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ เป็นต้น
ความมุ่งหมาย
เพื่อแสดงให้ผู้เรียนได้เห็นขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ
ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง และสามารถปฏิบัติตามได้
เมื่อใดจึงจะใช้การสอนแบบสาธิต
1. เมื่อนำเข้าสู่บทเรียน
ผู้สอนสาธิตให้ผู้ดูเพื่อให้ผู้เรียนตั้งปัญหาและเกิดความอยากรู้
อยากเห็น อยากค้นหาคำตอบต่อไป
2. เพื่อสร้างปัญหาให้ผู้เรียนคิด
3. เพื่อต้องการสร้างความเข้าใจในความคิดรวบยอด
ความจริงหลักทฤษฎี โดยนักเรียน
สามารถมองเห็นโดยตรง
4. เมื่ออธิบายเครื่องมือวิทยาศาสตร์ส่วนไหนทำหน้าที่อะไร
5. เมื่อเครื่องมือที่จะทำการทดลองมีราคาแพง
หรือเกิดอันตรายได้ง่าย
6. ควรคำนึงถึงฤดูกาล
โอการในการใช้
เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนให้มีความสนใจในบทเรียน
ช่วยอธิบายเนื้อหาวิชาที่ยาก ต้องใช้เวลานานให้เข้าใจง่ายขึ้นและประหยัดเวลา
เพื่อแสดงวิธีการหรือกลไกวิธีในการปฏิบัติงานซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด
เช่น การทำกิจกรรม วิชาศิลปะ หัตถกรรม
งานประดิษฐ์ นาฏศิลป์
เพื่อช่วยสรุปบทเรียน
เพื่อใช้ทบทวนบทเรียน
เพื่อสร้างความเข้าใจ ความคิดรวบยอด ความจริง หลักทฤษฎี
โดยนักเรียนมองเห็นได้โดยตรง
เพื่อทดสอบหรือยืนยันการสังเกตในครั้งก่อนๆ ว่าผลเหมือนเดิมหรือไม่
ประเภทของการสาธิต
แบบที่ 1
1.
สาธิตให้ดูทั้งชั้น
การสาธิตให้ดูทั้งชั้นผู้สอนจะต้องระวังให้ทุกคนมองเห็นและเข้าใจการสาธิตในแต่ละครั้ง
อย่างไรก็ตามการสาธิตให้ดูทั้งชั้นย่อมมีผู้เรียนบางคนไม่เข้าใจดีพอเนื่องจากบางคนมีพื้นความรู้หรือประสบการณ์แตกต่างกัน
2.
การสาธิตให้ดูเป็นกลุ่มหรือเป็นหมู่
เมื่อมีผู้เรียนจำนวนหนึ่ง
เรียนไม่เข้าใจดีพอ
จึงจำเป็นต้องสาธิตให้ดูใหม่เป็นกลุ่มเล็ก
ในแต่ละชั้นเรียนอาจมีผู้เรียนได้เร็วมาก
ปานกลางหรือช้าไปบ้าง
การสาธิตให้ดูเป็นหมู่
เฉพาะที่มีความรู้ไล่เลี่ยกันจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนแต่ละหมู่ทำงานอย่างเต็มความสามารถของตน
3.
การสาธิตให้ดูเป็นรายบุคคล เมื่อผู้สอนสาธิตให้ดูเป็นหมู่
เป็นกลุ่มแต่ผู้เรียนบางคนไม่อาจจะเข้าใจการสาธิตทั้งชั้นหรือเป็นกลุ่มได้ หรือผู้เรียนบางคนไม่ได้เข้าร่วม ผู้สอนจึงต้องสาธิตให้ดูเป็นรายบุคคล
แบบที่ 2
1.
ครูแสดงการสาธิตคนเดียว ( Teacher- Demonstration)
2.
ครูและนักเรียนช่วยกันแสดงสาธิต (Teacher-Student- Demonstration )
3.
กลุ่มนักเรียนล้วนเป็นผู้สาธิต (Student Group
Demonstration )
4.
นักเรียนคนเดียวเป็นผู้สาธิต (Individual Student Demonstration )
5.
วิทยากรเป็นผู้สาธิต ( Guest
Demonstration )
ขั้นตอนการสอน
1.
ขั้นเตรียมการสอน
-
กำหนดจุดประสงค์ในการสาธิตให้ชัดเจน
-
จัดลำดับเนื้อหาตามขั้นตอนให้เหมาะสม
-
เตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน
สิ่งที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ ตลอดจนคำถามที่จะใช้ให้รอบคอบ
-
เตรียมสื่อการเรียนการสอนและเอกสารประกอบให้พร้อม
-
กำหนดเวลาในการสาธิตให้พอเหมาะ
-
กำหนดวิธีการวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน
-
เตรียมสภาพห้องเรียนให้เหมาะสมเพื่อให้นักเรียนมองเห็นการสาธิตให้ทั่วถึง
-
ทดลองสาธิตเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เกิดการติดขัด
2.
ขั้นตอนการสาธิต
-
บอกจุดประสงค์การสาธิตให้นักเรียนทราบ
-
บอกกิจกรรมที่นักเรียนจะต้องปฏิบัติ
เช่น นักเรียนจะต้องจดบันทึก สังเกตกระบวนการ สรุปขั้นตอน ตอบคำถาม เป็นต้น
-
ดำเนินการสาธิตตามลำดับขั้นตอนที่เตรียมไว้ ประกอบกับอธิบายตัวอย่างชัดเจน
3.
ขั้นสรุปและประเมินผล
-
ผู้สอนเป็นผู้สรุปความสำคัญ
ขั้นตอนของสิ่งที่สาธิตนั้นด้วยตนเอง
-
ให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุป
เพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในบทเรียนนั้นๆมากน้องเพียงใด
-
ผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆ
เพื่อประเมินว่าผู้เรียนเข้าใจเนื้อเรื่อง
ขั้นตอนการสาธิตมากน้อยเพียงใด เช่น ให้ตอบคำถาม ให้เขียนรายงาน ให้แสดงสาธิตให้ดู ฯลฯ
-
ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามหรือแสดงความคิดเห็นภายหลังจากการสาธิตแล้ว
2.
วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
โดยการให้ผู้เรียนแสดงละคร
ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหาและบทละครที่ได้กำหนดไว้
(ทิศนา แขมมณี, 2543)
และนำเรื่องราวที่แสดงออกมา และการแสดงของผู้แสดงมาอภิปรายร่วมกัน
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพเรื่องราวที่ชัดเจน และสามารถจดจำเรื่องราวได้นาน
2.
เพื่อนนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และฝึกทักษะต่าง ๆ
ขั้นตอนการสอน
1.
ผู้สอน / ผู้เรียนเตรียมบทละคร
ผู้สอนและผู้เรียนควรอภิปรายวัตถุประสงค์ในการเลือกใช้ละครเป็นวิธีการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
นักเรียนควรจะมีส่วนในการเลือกเรื่องราวที่จะแสดง
ในการเตรียมบทละครผู้สอนอาจเตรียมให้หรือผู้เรียนเตรียมกันเอง
แต่ต้องมีการศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราวให้เข้าใจ
ได้เนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ให้มากที่สุด
2.
ผู้เรียนศึกษาบทละครและเลือกบทบาทที่จะแสดง ในการเลือกละคร
ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนกับบทที่จะแสดง
แต่ในบางกรณีผู้สอนอาจเลือกผู้เรียนที่มีบุคลิกภาพไม่ตรงกับบทที่จะแสดงเพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ในการแสดง
แต่ผู้แสดงควรมีความเต็มใจที่จะแสดง เพื่อให้การแสดงออกมาดีที่สุด
3.
ผู้เรียนซ้อมการแสดง ในการซ้อมการแสดงต้องมีการฝึกซ้อมการแสดงร่วมกัน
และในบางกรณีอาจจำเป็นจะต้องเปลี่ยนตัวผู้แสดงคนใหม่ เพื่อให้การแสดงสมบทบาทและสื่อความหมายได้ถูกต้อง
ส่วนผู้เรียนที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการแสดง ผู้สอนจะต้องแนะนำในการชมการแสดงว่า
ควรสังเกตและให้ความสนใจที่เรื่องอะไรบ้าง จุดไหนบ้าง
4.
ผู้เรียนแสดงและชมการแสดง ในขณะแสดง ผู้สวนและผู้ชมไม่ควรขัดการแสดงกลางคัน
และควรให้กำลังใจผู้แสดง
ผู้ชมควรตั้งใจสังเกตการแสดงในเรื่องราวที่สำคัญที่ผู้สอนได้แนะนำ
5.
อภิปรายการแสดง ในการอภิปรายต้องมุ่งไปที่เรื่องราวที่แสดงออกมา
และการแสดงของผู้แสดงว่า สามารถแสดงได้สมจริงเพียงใด
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1.
ทำให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จริง
2.
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน
3.
นักเรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะการพูด การเขียน การแสดงออก การจัดการ
การแสวงหาความรู้ และการทำงานเป็นกลุ่มเป็นต้น
ข้อจำกัด
1.
ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมมาก
2.
มีค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม
3.
ต้องอาศัยความชำนาญในการเขียนบท
3.
วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ (Role Playing)
เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง
และแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดของตนและนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง
ทั้งทางด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่สังเกตพบ
มาเป็นข้อมูลในการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ (ทิศนา
แขมมณี , 2543)
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ
เกี่ยวกับบทบาทสมมติที่ตนแสดง
2.
เพื่อนนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และฝึกทักษะต่าง ๆ
ขั้นตอนการสอน
1.
ผู้สอน / ผู้เรียนนำเสนอสถานการณ์สมมติและบทบาทสมมติ
บทบาทสมมติที่กำหนดขึ้นควรมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง ไม่มีบทให้
ผู้สวมบทบาทจะต้องคิดแสดงเอง
หรืออาจให้บทบาทสมมติแบบแก้ปัญหาซึ่งจะกำหนดสถานการณ์ที่มีปัญหาหรือความขัดแย้งให้
และผู้สวมบทบาทแก้ปัญหาตามความคิดของตน
2.
ผู้สอน / ผู้เรียนเลือกผู้แสดงบทบาท ในการเลือกผู้แสดง
ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนกับบทที่จะแสดง
แต่ในบางกรณีผู้สอนอาจเลือกผู้เรียนที่มีบุคลิกภาพไม่ตรงกับบทที่จะแสดงเพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ในการแสดง
แต่ผู้แสดงควรมีความเต็มใจที่จะแสดง เพื่อให้การแสดงออกมาดีที่สุด
3.
ผู้สอนเตรียมผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชม ผู้สอนควรแนะนำการชมว่า ควรสังเกตอะไร
และควรบันทึกข้อมูลอย่างไร
หรือผู้สอนอาจจัดทำแบบสังเกตการณ์ให้ผู้ชมใช้ในการสังเกตด้วยก็ได้
4.
ผู้เรียนแสดงบทบาท ผู้ชมและผู้สอนสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก
5.
ผู้เรียนและผู้สอนอภิปรายร่วมกัน เกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก
และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1.
ผู้เรียนเกิดความเข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น
2.
ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรมของตน
3.
พัฒนาทักษะในการเผชิญสถานการณ์ ตัดสินใจและแก้ปัญหา
4.
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมาก
ข้อจำกัด
1.
ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมมาก
2.
ต้องอาศัยความสามารถของผู้สอนในการแก้ปัญหาเนื่องจากการแสดงของผู้เรียนอาจไม่เป็นไปตามความคาดหมายของผู้สอน
ผู้สอนจะต้องสามารถแก้ปัญหาหรือปรับสถานการณ์และประเด็นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
4. วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (Case)
คือ
กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
โดยการให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องที่สมมติขึ้นจากความเป็นจริง
และตอบประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น
แล้วนำคำตอบและเหตุผลที่มาของคำตอบนั้นมาใช้เป็นข้อมูลในการอภิปราย
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ (ทิศนา แขมมณี , 2543)
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และเรียนรู้ความคิดของผู้อื่น
2.
ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น
ขั้นตอนการสอน
1.
ผู้สอน / ผู้เรียนนำเสนอกรณีตัวอย่าง
กรณีตัวอย่างส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องราวที่มีสถานการณ์เป็นปัญหาขัดแย้ง
ผู้สอนอาจใช้วิธีการตั้งประเด็นคำถามที่ท้าทายให้ผู้เรียนคิดก็ได้ ใช้เรื่องจริงหรือเรื่องจากหนังสือพิมพ์
รวมทั้งสื่อต่าง ๆ ผู้สอนต้องเตรียมประเด็นคำถามสำหรับการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ต้องการ
ในการเสนอทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์เป็นข้อมูลมาให้ผู้เรียนอ่าน
การเล่ากรณีตัวอย่างให้ฟัง หรือนำเสนอโดยใช้สื่ออื่น
2.
ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง ผู้สอนควรแบ่งกลุ่มย่อยในการศึกษากรณีตัวอย่าง
ไม่ควรให้ผู้เรียนตอบประเด็นคำถามทันที
3.
ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ
ผู้เรียนแต่ละคนควรมีคำตอบของตนเตรียมไว้ก่อน
แล้วจึงร่วมกันอภิปรายเป็นกลุ่ม และนำเสนอผลการอภิปรายระหว่างกลุ่ม
4.
ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายคำตอบ
นำเสนอผลการอภิปรายระหว่างกลุ่ม คำถามสำหรับการอภิปรายนี้
ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจนแน่นอน
แต่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นคำตอบและเหตุผลที่หลากหลาย
ทำให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น ช่วยให้การตัดสินใจมีความรอบคอบขึ้น
การอภิปรายควรมุ่งความสนใจไปที่เหตุผลหรือที่มาของความคิดที่ผู้เรียนใช้ในการแก้ปัญหาเป็นสำคัญ
5.
ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาของผู้เรียน
และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1.
ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
และคิดแก้ปัญหา
2.
ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น
3.
ช่วยให้เกิดความพร้อมที่จะแก้ปัญหาเมือเผชิญปัญหานั้นในสถานการณ์จริง
ข้อจำกัด
1.
แม้ปัญหาและสถานการณ์จะใกล้เคียงกับความเป็นจริง แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ๆ
กับผู้เรียน
ความคิดในการแก้ปัญหาจึงมักเป็นไปตามเหตุผลที่ถูกที่ควรซึ่งอาจไม่ตรงกับการปฏิบัติจริงได้
5. วิธีการสอนโดยใช้เกม (Game)
คือ
กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
โดยการให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา และนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น
วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้
(ทิศนา แขมมณี, 2543)
วัตถุประสงค์
1.
ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ อย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ
2.
ทำให้เกิดประสบการณ์ตรง
3.
เป็นวิธีที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง
ขั้นตอนการสอน
1.
ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่นเกม เกมที่ได้รับการออกแบบให้เป็นเกมการศึกษาโดยตรงมีอยู่ด้วยกัน
3 ประเภท คือ 1) เกมแบบไม่มีการแข่งขัน 2) เกมแบบแข่งขัน 3)
เกมจำลองสถานการณ์
การเลือกเกมเพื่อนำมาใช้สอนทำได้หลายวิธีผู้สอนอาจเป็นผู้สร้างเกมขึ้น
หรืออาจนำเกมที่มีผู้สร้างขึ้นแล้วมาปรับดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
และควรชี้แจงกติกาการเล่นเกมให้เข้าใจ
2.
ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา
ผู้สอนควรติดตามสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด
และควรบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนของผู้เรียน
3.
ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายผล ควรอภิปรายผลเกี่ยวกับผลการเล่น
และวิธีการหรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนที่ได้จากการสังเกตจดบันทึกไว้
และในการอภิปรายผลควรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ การใช้เกมในการสอนโดยทั่ว ๆ ไป
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ฝึกฝนเทคนิคหรือทักษะต่าง ๆ 2) เรียนรู้เนื้อหาสาระจากเกม
3) เรียนรู้ความเป็นจริงตามสถานการณ์ต่าง ๆ
ดังนั้นการอภิปรายควรมุ่งประเด็นไปตามวัตถุประสงค์ของ การสอน
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1.
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง
2.
ผู้เรียนได้รับความสนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้จากการเล่น
ข้อจำกัด
1. เป็นวิธีการสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำการอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ
จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุปการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์
6. วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
โดยการให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น
ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น
โดยข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่าง ๆ
ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
(ทิศนา แขมมณี, 2543)
วัตถุประสงค์
1.
ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้สภาพความเป็นจริง เกิดความเข้าใจในสถานการณ์
ขั้นตอนการสอน
1.
ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลอง
สถานการณ์จำลองโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1) สถานการณ์จำลองแท้
จะเป็นสถานการณ์การเล่นที่ให้ผู้เรียนได้เล่น เพื่อเรียนรู้จริง 2) สถานการณ์จำลองแบบเกม มีลักษณะเป็นเกมการเล่น
แต่เกมการเล่นนี้มีลักษณะที่สะท้อนความเป็นจริง ในขณะที่เกมธรรมดาทั่ว ๆ ไป
อาจจะไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงอะไร
2.
ผู้สอนนำเสนอสถานการณ์จำลอง บทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ในการนำเสนอ
ผู้สอนควรเริ่มด้วยการบอกเหตุผลและวัตถุประสงค์กว้าง ๆ แก่ผู้เรียนว่า
การเล่นในสถานการณ์จำลองนี้จะให้อะไรและเหตุใดจึงมาเล่นกัน ต่อไปจึงให้ภาพรวมทั้งของสถานการณ์จำลองทั้งหมด
แล้วจึงให้รายละเอียดที่จำเป็น
3.
ผู้เรียนเลือกบทบาทที่จะเล่นหรือผู้สอนกำหนดบทบาทให้
ผู้เรียนทุกคนควรได้รับบทบาทในการเล่น
ซึ่งผู้เรียนอาจะเป็นผู้เลือกเองหรือผู้สอนกำหนดบทบาทให้ผู้เรียนบางคน
ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตรงตามความต้องการ
4.
ผู้เรียนเล่นตามกติกาที่กำหนด
ในขณะที่ผู้เรียนกำลังเล่นผู้สอนควรติดตามพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดและคอยให้คำปรึกษาตามความจำเป็น
5.
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
ควรมุ่งไปประเด็นไปที่การเรียนรู้ความเป็นจริง อะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล
ผู้เรียนควรได้เรียนรู้จากการเล่นของตน
6.
ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการเล่น
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1.
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่มีความซับซ้อน
อย่างเข้าใจเนื่องจากได้มีประสบการณ์ด้วยตัวเอง
2.
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนสูง
3.
ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะกระบวนการต่าง ๆ จำนวนมาก
ข้อจำกัด
1.
ใช้ค่าใช้จ่ายสูง และใช้เวลามาก
2.
ผู้สอนต้องอาศัยการเตรียมการมาก
3.
ถ้าไม่มีสถานการณ์จำลองต้องสร้างสถานการณ์ขึ้นมาเอง
อ้างอิง https://sites.google.com/site/acadedmsu/xeksar-fay-wichakar
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น