การบูรณาการตามตัวชีวัดการประกันคุณภาพการศึกษา
1.
การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนมีการบูรณาการดังนี้
1. 1
กรณีที่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเป็นทีมวิจัยของอาจารย์โดยอาจารย์มีงานวิจัยในลักษณะชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่และมีงานวิจัยย่อยๆโดยนักศึกษาเข้าเป็นทีมในการวิจัยของอาจารย์ในชุดย่อยๆและมีอาจารย์ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการชุดใหญ่ให้คำแนะนำปรึกษานักศึกษาจะได้ฝึกฝนกระบวนการวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบทำให้นักศึกษาเกิดทักษะในกระบวนการทำวิจัย
1. 2
กรณีที่นักศึกษาปริญญาตรีทำโครงการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์เป็นการออกแบบการเรียนการสอนด้วยการมอบหมายงานนักศึกษาในรูปแบบที่เป็นองค์ประกอบงานวิจัยโดยมีอาจารย์ควบคุมการดำเนินงานเป็นระยะ
ๆ แต่มิใช่รายวิชาวิจัยหรืออาจารย์มีโครงการวิจัยและให้นักศึกษาร่วมเป็นทีมการทำวิจัยที่มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจนหรือให้นักศึกษาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการวิจัย
(Under
Study Concept) ที่มีแผนการวิจัยชัดเจนว่านักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการใดบ้างเช่นการทบทวนเอกสารการเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งวิธีนี้ต่างจากวิธีแรกที่นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการทำวิจัยครบทุกขั้นตอนแต่วิธีที่สองนี้นักศึกษาได้เรียนรู้บางส่วนของการวิจัยเท่านั้นดังนั้นอาจารย์ควรดำเนินการเพิ่มเติมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ครบกระบวนการด้วย
1. 3
กรณีที่นักศึกษาทุกระดับปริญญาตรีปริญญาโทและปริญญาเอกเข้าฟังการบรรยายหรือสัมมนาเกี่ยวกับผลความก้าวหน้าในงานวิจัยของอาจารย์หรือเข้าร่วมการจัดแสดงงานสร้างสรรค์ของอาจารย์เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญแต่วิธีการนี้นักศึกษาต้องมีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงานอาจทำให้นักศึกษาเข้าร่วมงานได้บางส่วนเท่านั้นอาจารย์ควรมอบหมายงานให้ผู้ที่เข้าร่วมงานสรุปสิ่งที่ได้จากการเข้ารับฟังการบรรยายหรือสัมมนาเกี่ยวกับการวิจัยและนำมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
1. 4
จัดให้มีการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยหรือแสดงงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาหรือส่งเสริมนักศึกษาเข้าร่วมประชุมการเสนอผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ
1. 5
การส่งเสริมให้อาจารย์นำผลลัพธ์ที่เกิดจากการวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนหมายถึงอาจารย์มีผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับกับรายวิชาที่สอนและนำองค์ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยมาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนเพราะการวิจัยทำให้มีการค้นพบความรู้ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาทำให้นักศึกษามีความรู้ใหม่ๆอย่างต่อเนื่องในการนำผลงานวิจัยมาใช้สอนนั้นต้องเป็นผลงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอนเองไม่สามารถนำผลงานวิจัยของบุคคลอื่นที่เป็นภายนอกมาไม่เรียกว่าเกิดการบูรณาการ
2.
การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมการบริการวิชาการหมายถึงกิจกรรมหรือโครงการให้บริการแก่สังคมภายนอกสถาบันหรือเป็นการให้บริการที่จัดในสถาบันแต่ต้องเป็นการจัดให้กับบุคคลภายนอกประเภทของการบริการวิชาการมีดังนี้ประเภทให้เปล่าโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไรเป็นลักษณะงานบริการวิชาการหรือกิจกรรมที่จัดเพื่อบริการสังคมโดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณและ
/
หรือมีองค์กรช่วยสนับสนุนในการลงทุนสำหรับการจัดกิจกรรมและให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ร่วมกิจกรรมในการออกค่าใช้จ่ายด้วยอีกส่วนหนึ่งและประเภทหารายได้เป็นลักษณะงานบริการวิชาการหรือกิจกรรมที่จัดเพื่อบริการบุคคลกลุ่มบุคคล
/ องค์กรภาครัฐและเอกชนโดยผู้เข้าอบรมต้องเสียค่าใช้จ่าย
(งานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดล, 2556)
ในการบูรณาการวิชาการแก่สังคมสามารถดำเนินการได้ดังนี้
2. 1
การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนปกติและมีการกำหนดให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับจัดทำเป็นโครงการหรือกิจกรรมไปบริการวิชาการให้กับบุคคลภายนอก
2. 2
การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยเป็นการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์หรือการนำความรู้ประสบการณ์จากการบริการวิชาการกลับมาพัฒนาต่อยอดความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการวิจัย
3.
การบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนสถาบันควรสนับสนุนให้มีการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนคือมีการจัดการเรียนการสอนที่นำการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอนเมื่อมีการบูรณาการกำหนดให้มีการประเมินความสำเร็จของการบูรณาการและมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมการจัดการเรียนการสอน
อ้างอิง
สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (2553 หน้า 119-128) การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษามีลักษณะดังนี้ (อ้างถึงในสำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร http: / / asLkpru. ac. th / asr / images / FilesUpload / Gather-knowledge-of-document-integration 59. pdf )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น