มีนักศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและประสบการณ์สูงในวงการศึกษาท่านนี้เป็นผู้ริเริ่มจุดประกายความคิดในการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการเรียนการสอนมานานกว่า
20 ปีมาแล้วโดยการประยุกต์หลักอริยสัจ 4
อันได้แก่ทุกข์สมุทัยนิโรธและมรรคมาใช้เป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ควบคู่กับแนวทางปฏิบัติที่เรียกว่า“
กิจในอริยสัจ 4” อันประกอบด้วยปริญญา (การกำหนดรู้) ปหานะ (การละ)
สัจฉิกิริยาการทำให้แจ้ง) และภาวนา (การเจริญหรือการลงมือปฏิบัติ)
จากหลักทั้งสองท่านได้เสนอแนะการสอนกระบวนการแก้ปัญหาไว้เป็นขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์)
คือการให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (ขั้นสมุทัย)
คือการให้ผู้เรียนวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและตั้งสมมติฐาน
3.
ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ)
คือการให้ผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
(ขั้นมรรค) คือการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป
อ้างอิง สาโรชบัวศรี (2526)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น