นักรัฐศาสตร์และราชบัณฑิตสำนักธรรมศาสตร์และการเมืองและผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยนักคิดผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทยซึ่งหันมาสนใจและพัฒนางานทางด้านการศึกษาอย่างจริงจังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของการคิดไว้ว่าการคิดของคนเรามีหลายรูปแบบโดยท่านได้ยกตัวอย่างมา
4 แบบและได้อธิบายลักษณะของนักคิดทั้ง 4 แบบไว้ซึ่งผู้เขียนจะขอนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดของผู้เรียนได้ดังนี้
4. 1 การคิดแบบนักวิเคราะห์ (analytical)
ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนให้พัฒนาความสามารถในการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนแสวงหาข้อเท็จจริง
(fact) คูตรรกะ (logic) ทิศทาง (direction)
หาเหตุผล (reason) และมุ่งแก้ปัญหา (problem
solving)
4. 2 การคิดแบบรวบยอด (conceptual)
ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนให้พัฒนาความสามารถในการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคิดวาดภาพในสมองสร้างความคิดใหม่จากข้อมูลที่ถูกต้องแน่นอนหรือมองข้อมูลเพิ่มในแง่มุมใหม่และส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิดกล้าทำ
4. 3 การคิดแบบโครงสร้าง (Structural
thinking) การฝึกให้ผู้เรียนแยกแยะส่วนประกอบศึกษาส่วนประกอบและเชื่อมโยงข้อมูลจัดเป็นโครงสร้างจะทำให้ผู้เรียนมีการคิดอย่างเป็นระบบสามารถตัดสินว่าควรจะทำอะไรอย่างไร
4. 4 การคิดแบบผู้นำสังคม (social
thinking) การฝึกให้ผู้เรียนปฏิสัมพันธ์พูดคุยกับผู้อื่นทำตนเป็นผู้อำนวยความสะดวก
(facilitator) ฝึกทักษะกระบวนการทำงานรวมกันเป็นทีม (group
process) และฝึกให้คิด 3 ด้านที่เรียกว่า“ PMI” คือด้านบวก (plus) ด้านลบ (minus) และด้านที่ไม่บวกไม่ลบแต่เป็นด้านที่ไม่สนใจ (interesting)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น