มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ
ได้ศึกษาค้นคว้าและจัดมิติของการคิดไว้ 6 ด้านคือ
1
มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิดการคิดของบุคคลจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย
2 ส่วนคือเนื้อหาที่ใช้ในการคิดและกระบวนการคิดคือต้องมีการคิดอะไรควบคู่ไปกับการคิดอย่างไรซึ่งเรื่องหรือข้อมูลที่คิดนั้นมีจำนวนมากเกินกว่าที่จะกำหนดได้อย่างไรก็ตามอาจจัดกลุ่มใหญ่ๆได้เป็น
3
กลุ่มคือข้อมูลเกี่ยวกับตนเองข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลวิชาการ
(โกวิทวรวิพัฒน์อ้างถึงในอุ่นตานพคุณ, 2530:
29 – 36)
2 มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยต่อการคิด
ได้แก่
คุณสมบัติส่วนบุคคลซึ่งมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการคิดและคุณภาพของการคิดเช่นใจกว้างความใฝ่รู้ความกระตือรือร้นความกล้าเสียงเป็นต้น
3
มิติด้านทักษะการคิดหมายถึงกระบวนการหรือขั้นตอนที่บุคคลใช้ในการคิดซึ่งจัดได้เป็น
3 กลุ่มใหญ่คือทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน (basic thinking skills)
ประกอบด้วยทักษะที่ใช้ในการสื่อสารเช่นทักษะการอ่านการพูดการเขียน
ฯลฯ ทักษะการคิดที่เป็นแกน (core thinking skills) เช่นทักษะการสังเกตการเปรียบเทียบเชื่อมโยง
ฯลฯ และทักษะการคิดขั้นสูง (higher order thinking skill) เช่นทักษะการนิยามการสร้างการสังเคราะห์การจัดระบบ
ฯลฯ
ทักษะการคิดขั้นสูงมักประกอบด้วยกระบวนการหรือขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าทักษะการคิดขั้นที่ต่ำกว่า
4
มิติด้านลักษณะการคิดเป็นประเภทของการคิดที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งมีความเป็นนามธรรมสูงจำเป็นต้องมีการตีความให้เห็นเป็นรูปธรรมจึงจะสามารถเห็นกระบวนการหรือขั้นตอนการคิดชัดเจนขึ้นเช่นการคิดกว้างการคิดลึกซึ้งการคิดละเอียดเป็นต้น
5
มิติด้านกระบวนการคิดเป็นการคิดที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักหลายขั้นตอนซึ่งจะนำผู้คิดไปสู่เป้าหมายเฉพาะของการคิดนั้นโดยขั้นตอนหลักเหล่านั้นจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิดย่อยๆจำนวนมากบ้างน้อยบ้างกระบวนการคิดแก้ปัญหากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณกระบวนการวิจัยเป็นต้น
6
มิติด้านการควบคุมและประเมินการคิดของตน (meta-cognition) เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ในการควบคุมกำกับการรู้คิดของตนเองมีผู้เรียกการคิดลักษณะนี้ว่าเป็นการคิดอย่างมียุทธศาสตร์
(Strategic thinking) ซึ่งครอบคลุมการวางแผนการควบคุมกำกับการกระทำของตนเองการตรวจสอบความก้าวหน้าและประเมินผล
นอกจากการนำเสนอมิติการคิดข้างต้นแล้วทิศนาแขมมณีและคณะ
(2543) ยังได้นำเสนอกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical
thinking) ซึ่งเป็นผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการคิดทั้งของต่างประเทศและของประเทศไทยดังรายละเอียดต่อไปนี้
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
จุดมุ่งหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เพื่อให้ได้ความคิดที่รอบคอบสมเหตุสมผลผ่านการพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างกว้างขวางลึกซึ้งและผ่านการพิจารณากลั่นกรองไตร่ตรองทั้งทางด้านคุณโทษและคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้นมาแล้ว
เกณฑ์ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณจะมีความสามารถดังนี้
1. สามารถกำหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกต้อง
2.
สามารถระบุประเด็นในการคิดอย่างชัดเจน
3.
สามารถประมวลข้อมูลทั้งทางด้านข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเกี่ยวกับที่คิดทั้งทางด้านกว้างทางลึกและไกล
4.
สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้
5. สามารถประเมินข้อมูลได้
6.
สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลและเสนอคำตอบทางเลือกที่สมเหตุสมผลได้
7.
สามารถเลือกทางเลือกลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้
วิธีการหรือขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
1. ตั้งเป้าหมายในการคิด
2. ระบุประเด็นในการคิด
3. ประมวลข้อมูลทั้งทางด้านข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่คิดทั้งทางกว้างลึกและไกล
4.
วิเคราะห์จำแนกแยกแยะข้อมูลจัดหมวดหมู่ของข้อมูลและเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้
5.
ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้องความเพียงพอและความน่าเชื่อถือ
6.
ใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลเพื่อแสวงหาทางเลือกคำตอบที่สมเหตุสมผลตามข้อมูลที่มี
7.
เลือกทางเลือกที่เหมาสมโดยพิจารณาถึงผลที่จะตามมาและคุณค่าหรือความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น
8.
ชั่งน้ำหนักผลได้ผลเสียคุณโทษในระยะสั้นและระยะยาว
9. ไตร่ตรองทบทวนกลับไปมาให้รอบคอบ
10.
ประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด
อ้างอิง ทิศนา แขมมณี และคณะ (2543)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น