1 ทฤษฎีของบลูม

ทฤษฎีของบลูม

       ปกติแล้วทฤษฎีการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้มากมายขึ้นอยู่กับว่าใครจะเลือกนำเสนอทฤษฎีไหนแล้วสามารถทำได้จริงหรือไม่ อย่างทฤษฎีการเรียนรู้หนึ่งที่ค่อนข้างได้รับความสนใจพอสมควรคือทฤษฎีของ เบนจามิน บลูม ซึ่งเขาได้มีการแยกจุดมุ่งหมายแห่งการเรียนรู้ออกไว้เป็น 3 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านพุทธิพิสัย, ด้านทักษะพิสัย และด้านเจตพิสัย ซึ่งแต่ละด้านสามารถแยกย่อยในรายละเอียดได้ดังนี้
  1. ด้านพุทธิพิสัย – เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมอง สติปัญญา การเรียนรู้ ความคิด ความฉลาด การคิดค้นหาในสิ่งต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถแบ่งพฤติกรรมเหล่านี้ออกได้เป็น 6 ระดับ
  • การรับรู้การจดจำ – สามารถเก็บรักษาความรู้ต่างๆ เอาไว้และสามารถเอามาใช้งานได้เมื่อเกิดความต้องการ
  • การเข้าใจ – สามารถจับใจความในสิ่งต่างๆ ได้ รวมถึงสามารถแสดงสิ่งนั้นออกมาได้อย่างเข้าใจ
  • การนำสิ่งที่รู้ไปใช้ – สามารถนำเอาความรู้ต่างๆ ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
  • การวิเคราะห์ – คิด แยกแยะ เรื่องราวต่างๆ ออกเป็นย่อยๆ ได้ จนสามารถวิเคราะห์ได้อย่างเข้าใจ
  • การสังเคราะห์ – สามารถเอาเรื่องราวมาผสานกันได้อย่างลงตัวเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุด
  • การประเมินค่า – สามารถตัดสินใจสรุปในคุณค่าของสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีความเหมาะสมด้วยหลักเหตุผล
  1. ด้านจิตพิสัย – เป็นความรู้สึก ค่านิยม ทัศนคติส่วนตัว ความเชื่อ หรือสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับจิตใจ ปกติมันอาจไมได้แสดงออกแบบทันที แต่สิ่งแวดล้อมรอบข้างสามารถหล่อหลอมสิ่งเหล่านี้ได้ ประกอบไปด้วยพฤติกรรมย่อย 5 ระดับ
  • การรับรู้ – ความรู้สึกที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยสามารถเข้าใจได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันคืออะไร
  • การตอบสนอง – เป็นการกระทำที่ถูกแสดงออกมาจากการได้รับสิ่งต่างๆ รอบตัวเอง
  • เกิดเป็นค่านิยม – เลือกทำในสิ่งที่สังคมยอมรับจนกลายเป็นความเชื่อของสังคมไป
  • การจัดการระบบ – การจัดระบบตามค่านิยมที่มันเกิดขึ้นด้วยความสัมพันธ์ต่างๆ
  • บุคลิกภาพ – การนำเอาค่านิยมที่ว่ามากระทำจนกลายเป็นความเคยชิน เริ่มต้นจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างจนกลายเป็นความคิดส่งต่อมายังการกระทำ
  1. ด้านทักษะพิสัย – พฤติกรรมที่บ่งบอกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างชำนาญการ คล่องแคล่ว มีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้วัด ประกอบไปด้วยพฤติกรรมย่อย 5 ระดับ
  • การรับรู้ – สามารถรับรู้หลักการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง หรือการเลือกตัวอย่างที่น่าสนใจ
  • ทำตามแบบ – เป็นพฤติกรรมที่ทำตามคนที่เราสนใจ พยายามทำแบบเดิมๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญอย่างที่ต้องการมากที่สุด
  • การค้นหาความถูกต้อง – สามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องมีใครแนะนำ เมื่อได้ทำแล้วก็จะหาสิ่งที่ถูกต้องในการกระทำ
  • กระทำอย่างต่อเนื่อง – เมื่อเลือกแบบที่ต้องการได้ก็จะทำแบบเดิมซ้ำๆ จนงานที่ยากก็สำเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็ว
  • กระทำอย่างเป็นธรรมชาติ – พอทำมันอย่างต่อเนื่องทุกอย่างก็จะดูง่าย เป็นไปตามธรรมชาติที่ควรจะทำ
อ้างอิง https://www.abilityinfo.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น